วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558
นิตยสารฟอร์บส์ ไทยแลนด์จัดอันดับมหาเศรษฐีของประเทศไทย ประจำปี 2558 พบว่า มหาเศรษฐีอันดับ1ของไทยคือนายธนินท์
เจียรวนนท์ จากเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือเครือซีพีมีทรัพย์สินรวม 483,000 ล้านบาท
มหาเศรษฐีอันดับที่2 คือนายเจริญ
สิริวัฒนภักดี จากกลุ่มไทยเบฟเวอเรจมีมูลค่าทรัพย์สิน 435,000ล้านบาท
อันดับที่3
เป็นของตระกูลจิราธิวัฒน์ เจ้าของธุรกิจในกลุ่มเซ็นทรัลมีมูลค่าทรัพย์สิน 412,000 ล้านบาท
อันดับที่4 นายเฉลิม อยู่วิทยา กลุ่มกระทิงแดง
อันดับที่5 นายกฤตย์
รัตนรักษ์ กลุ่มธุรกิจสถานีโทรทัศน์สีช่อง7,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา,บริษัท
ปูนซีเมนต์นครหลวง และยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แกรนด์คาแนลแลนด์
อันดับที่6 นายวานิช
ไชยวรรณ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในไทยประกันชีวิต และสุรามหาราษฎร
อันดับที่7 นายสันติ ภิรมย์ภักดี กลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่
อันดับที่8 นายปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เจ้าของธุรกิจสายการบินบางกอกแอร์เวย์และเครือโรงพยาบาลชั้นนำ
อันดับที่9 นายวิชัย ศรีวัฒนประภา กลุ่มคิงพาเวอร์
อันดับที่10 พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีมีทรัพย์สินมูลค่า 57,000 ล้านบาท
คนทั่วไปเวลาได้เห็นข่าวเกี่ยวกับการจัดอันดับเศรษฐี ก็มักจะบอกว่า รวยไปก็เท่านั้นเงินทองเป็นของนอกกายหรือเงินทองไม่ใช้หลักประกันว่าชีวิตจะมีความสุข
คนที่มีทัศนะคติเช่นนี้มักจะไม่พร้อมรวย จริง ๆ
แล้วที่กล่าวอย่างนี้มันก็ไม่ผิดมีส่วนถูกอยู่มากทีเดียว
แต่เศรษฐีเขาจะคิดอีกแบบหนึ่งคือคิดว่าเงินทองสำคัญ มีทรัพย์ดีกว่าไม่มีแน่นอน
ลักษณะร่วมกันอย่างหนึ่งของเศรษฐีทั้งหลายคือ
การกระหายความสำเร็จ ยกตัวอย่างเช่น สตีฟ
จอบส์ แม้เขาจะมีเงินมากมาย ถูกจัดอับดับให้เป็นเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกหลายสมัย
แต่เขาก็ยังไม่หยุดพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาให้คนทั้งโลกได้เห็น
หรือเศรษฐีเมืองไทยอย่างคุณจรัส ชูโต ผู้จัดการใหญ่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย
ที่มักบอกกับผู้ใต้บังคับบัญชาว่า
"There's always a better way in doing
things" แปลว่า ย่อมมีวิธีการที่ดีกว่าเสมอ
ในการที่คนเราจะทำอะไรก็ตาม หมายความว่า
อย่าไปนึกว่าสิ่งที่เราประสบความสำเร็จและทำมาดีแล้วนั่นคือวิธีที่ดีที่สุด
ความสำเร็จอย่าอื่นกำลังรอเราอยู่ข้างหน้า
ซึ่งบางทีเงินทองก็อาจจะไม่ใช้สาเหตุหลักในการทำงาน
ความกระหายความสำเร็จนี้เองที่ผลักดันให้เขาเกิดความเพียรพยายามทำในสิ่งนั้นให้สำเร็จ
มีใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ เมื่อทำแล้วไม่เป็นไปตามที่คาดคิด
ก็พิจารณาดูว่าเป็นเพราะอะไร
แล้วปรับปรุงแก้ไขจนกระทั้งประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งไว้
นี้คือลักษณะร่วมกันของคนที่เป็นเศรษฐี
แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม หาได้มาแล้วใช้เป็นหรือเปล่าก็อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งคำว่า “เป็น” ในที่นี้ไม่ได้หมายความเพียงแค่ใช้เพื่อประโยชน์ในปัจจุบันชาตินี้เท่านั้นแต่ยังหมายถึงใช้เพื่อประโยชน์ในชาติต่อ ๆ ไปด้วย เพราะทุกคนรู้อยู่แล้วว่าลำพังเพียงแค่หนึ่งสมองสองมือไม่อาจทำให้คน ๆ หนึ่งประสบความสำเร็จได้ ถ้ามีเพียงแค่นี้ทุกคนก็คงเป็นเศรษฐีกันหมดทั้งโลกไปแล้ว คำว่า “เป็น” ตัวนี้แหละที่จะแยกระหว่างเศรษฐีกับคนธรรมดาให้แตกต่างกัน
ภาพจาก :http://www.springnews.co.th/economics/90065
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Search
สนับสนุนผู้เขียน
เสียงเพรียกแห่งธรรม
บทความยอดนิยม
-
เช็คแบ่งเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ เช็คสั่งจ่ายตามสั่ง (Order cheque), แคชเชียร์เช็ค เช็คของขวัญ และเช็คสำหรับผู้เดินทาง 1. เช็คสั่งจ่ายต...
-
ประโยคนี้คงเป็นวลีเด็ดในช่วงนี้ แต่ถ้าไม่ใช้คำนี้ก็ไม่รู้จะใช้คำไหน เพราะบ้านเมืองตอนนี้กำลังเข้าสู่ยุคมืด หรือกำลังถอยหลังลงคลองแล้วจริง ๆ...
-
จรรยาบรรณสื่อสารมวลชนสากล 23 ข้อ ประกอบด้วย 1. ต้องกระทำตนให้อยู่ในขอบเขตของความเหมาะสม มีกริยาดี 2. ไม่สร้างข่าวขึ้นเอง 3. ต้องเสนอข้อเท็จ...
-
จรรยาบรรณ เป็นจริยธรรมพื้นฐานของอาชีพต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลกใบนี้ เช่นจรรยาบรรณของอาชีพครู ต้องรักและเมตตาศิษย์โดยให้เอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริ...
-
กฎหมายเป็นสถาบันหนึ่งภายในระบบสังคม มีหน้าที่ในการควบคุมให้สังคมดำเนินไปอย่างสงบสุข กฎหมายในฐานะที่มีหน้าที่ในการควบคุมสังคมโดยการวางแผน...
-
โทนี่ เฟอร์นานเดส ซีอีโอของแอร์เอเชียขึ้นเวทีเพื่อแบ่งปันเคล็ดคลับความสำเร็จในการทำให้แบรนด์เติบโตและเป็นที่รู้จัก หลังจากที่เขาเริ่มธุรกิจ...
-
คุณธนพ เอี่ยมอมรพันธ์ เป็นนักธุรกิจค้าเพชรและนาฬิกาแบรนด์หรู แล้วยังเป็นผู้เชี่ยวชาญการลงทุนตัวจริง ได้เปิดเผยในเวที โพสต์ทูเดย์ อิ...
-
บัตร ATM คือบัตรที่ใช้สำหรับกดเงินสดจากบัญชีออมทรัพย์ผ่านตู้เอทีเอ็ม บัตรเดบิต เหมือนกับบัตรเอทีเอ็ม แต่สามารถใช้รูดซื้อส...
-
คุณครูท่านหนึ่งเล่าเรื่องโจ๊กให้นักเรียนฟังก่อนเลิกเรียนว่า.. มีคนไข้ประจำคนหนึ่ง มาหาหมอคนเดิมเป็นเวลาหลายปี จนส่งเสียให้ลูกเรีย...
-
มนุษย์ทุกคนในใบโลกนี้ต้องใช้ปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต เมื่อต้องใช้ก็ต้องหา ในยุคแรก นั้นมนุษย์หาเช้ากินค่ำ (ไม่ต้องวางแผนชีวิต) เพราะทรัพยากร...
บทความทั้งหมด
- มิถุนายน 2016 (1)
- พฤษภาคม 2016 (1)
- เมษายน 2016 (1)
- มีนาคม 2016 (1)
- กุมภาพันธ์ 2016 (2)
- พฤศจิกายน 2015 (1)
- ตุลาคม 2015 (1)
- สิงหาคม 2015 (1)
- กรกฎาคม 2015 (1)
- มิถุนายน 2015 (3)
- พฤษภาคม 2015 (2)
- กุมภาพันธ์ 2015 (3)
สถิติผู้เข้าชม
ติดตามผู้เขียน
ฟอร์มรายชื่อติดต่อ
ติดตามที่ Facebook
Tags
- กฎหมาย ( 1 )
- การบริหารเงิน ( 1 )
- การใช้เงิน ( 1 )
- จรรยาบรรณสื่อ ( 1 )
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น