วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

มนุษย์ทุกคนในใบโลกนี้ต้องใช้ปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต เมื่อต้องใช้ก็ต้องหา ในยุคแรก นั้นมนุษย์หาเช้ากินค่ำ (ไม่ต้องวางแผนชีวิต) เพราะทรัพยากรมีเหลือเฟืออยากได้ต่อไหนก็ไปเอาตอนนั้น  พอมาถึงยุคปัจจุบันทั้ง ๆ ที่ทรัพยากรยังมีอยู่เหลือเฟือ แต่ถูกพวกมือยาวสาวได้สาวเอากักตุนไว้จนของบางอย่างเกิดขาดแคลนขึ้นมา ต่อมาไอ้พวกมือยาวทั้งหลายเริ่มคิดกลไกการตลาดขึ้นมา ทำให้เกิดอุปสงค์ อุปทาน สร้างกฎอะไรต่อมิอะไรวุ่นวายไปหมด สุดท้ายมนุษย์ต้องถูกกระแสสังคมครอบงำ ต้องผันตัวเองให้ไปประกอบอาชีพต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยสี่มาหล่อเลี้ยงร่างกาย
ปัญหาต่อมาก็คือมันหาแล้วไม่พอใช้ สำหรับคนที่หาได้น้อยไม่ต้องพูดกันเพราะยังไง ๆ โอกาสที่จะไม่พอใช้มันต้องมีอยู่แล้ว แต่สำหรับพวกที่หาได้เยอะแล้วไม่พอใช้นี้มันเพราะอะไร
คำโบราณว่าไว้ "ถ้าไม่รู้จักใช้ หาเท่าไหร่ก็ไม่พอ" ถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนกลุ่มที่หาได้เยอะแล้วไม่พอใช้สักที วิธีแก้สำหรับคนกลุ่มนี้ง่ายมาก คนโบราณให้หลักไว้ 2 ประการ คือ
1.กินตอนหิว อย่าไปกินตอนอยาก หมายความว่า ใช้ของที่ต้องการ อย่าใช้ของที่ความจำเป็น จริงอยู่ของบางอย่างมันจำเป็นแต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่ถึงขั้นตาย เรื่องนี้ต้องแยกให้ออก
2.ได้เท่าไหร่ไม่สำคัญ สำคัญว่าเหลือเท่าไหร่ คือต้องบริหารเงินให้เหลือนั้นเอง
วิธีที่คนโบราณให้มาสองประการนี้ อาจจะไม่เข้ากับหลักของนักเศรษฐศาสตร์หรือนักบัญชีทั้งหลายเท่าไร แต่ถ้าพิจารณาแล้วมันเป็นบทฝึกวินัยในการใช้ปัจจัยสี่ของตัวเราเองล้วน ๆ ไม่ต้องไปพึ่งใครทั้งนั้น
และที่สำคัญที่สุดสำหรับการใช้ปัจจัยสี่คือ ต้องรู้จักเปลี่ยนทรัพย์ภายนอกให้เป็นสมบัติทรัพย์ภายในที่สามารถนำติดตัวไปใช้ในชาติต่อ ๆ ไปให้ได้ด้วย

สิ่งของภายนอกที่เราเก็บไว้อาจถูกภัยธรรมชาติ ภัยสงคราม หรือแม้กระทั้งราชภัย ทำให้ทรัพย์ของเราสูญหายไปได้ แต่ถ้านำทรัพย์ออกโดยการให้ทาน ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนให้เป็นสมบัติภายใน ย่อมไม่มีใครจะเอาไปจากเราได้ทั้งนั้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น