วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

กฎหมายเป็นสถาบันหนึ่งภายในระบบสังคม มีหน้าที่ในการควบคุมให้สังคมดำเนินไปอย่างสงบสุข 

กฎหมายในฐานะที่มีหน้าที่ในการควบคุมสังคมโดยการวางแผนตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ 
จึงมีข้อปลีกย่อยมากมาย ดังนั้นแม้ว่าไม่สามารถจะกำหนดถึงหน้าที่ของกฎหมายทั้งหมดได้ 
แต่สามารถกล่าวถึงหน้าที่ของกฎหมายโดยสรุปได้เป็นประเด็นใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

1. กฎหมายมีหน้าที่รักษากฎพื้นฐานของการมีชีวิตอยู่ร่วมกัน

แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะกำหนดยาก เพราะกฎเกณฑ์พื้นฐานการมีชีวิตอยู่ร่วมกันของมนุษย์นั้นต้องขึ้นอยู่กับเป้าหมายของสังคม ค่านิยม และความเชื่อในเรื่องความดีและระเบียบเฉพาะซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมแต่ละสังคม แต่หลายคนก็ยอมรับหน้าที่นี้ของกฎหมาย

2. กฎหมายมีหน้าที่ระงับข้อพิพาทของสมาชิกที่อยู่ร่วมกันในสังคม

นั่นก็คือการหาข้อยุติความขัดแย้งระหว่างปัจเจกชนกับกลุ่มชนในสังคม โดยที่สมาชิกของสังคมต้องยมอรับระเบียบสามัญร่วมกัน เพื่อความกลมกลืนของชุมชน

3. กฎหมายมีหน้าที่ประกันและปกป้องความสัมพันธ์ทางการผลิต
อันได้แก่ ผลผลิต ที่เกิดขึ้นจากทรัพยากร รวมทั้งหาทางแจกจ่ายทรัพยากรเหล่านั้น ด้วยความยุติธรรม

หน้าที่ทั้งสามของกฎหมาย คือการรักษาวิถีชชีวิตที่สงบ การสร้างความสามัคคีกลมเกลียว และแจกจ่ายทรัพยากร เมื่อพิจารณาจากหน้าที่หลักของกฎหมายดังที่กล่าวไว้ จะเห็นได้ว่าหน้าที่ทุกอย่างต้องมี "ความยุติธรรม" เป็นหลักการสำคัญ เป็นส่วนประกอบอยู่ในตัว เพราะหากกฎหมายขาด ความยุติธรรมแล้ว สังคมก็ไม่อาจอยู่ด้วยความเป็นธรรมได้ ดังนั้น หน้าที่หลักของกฎหมายที่ควรจะเป็นคือ การสร้างความยุติธรรม กฎหมายจึงเป็นกฎหมายที่สมบูรณ์ที่สุด

มาตรการ หมายถึง วิธีการที่ตั้งเป็นกฎ ข้อกำหนด ระเบียบ หรือ กฎหมาย เช่น ใช้มาตรการเด็ดขาด วางมาตรการในการปราบปรามผุ้ร้าย วิธีการที่จะปรับเข้าสู่ความสำเร็จ เช่น วางมาตรการในการดำเนินงาน

ขอบคุณข้อมูลจาก

CR. ฉลอง ช่วยธานี

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น