วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558


การสัมภาษณ์ถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่ทุกบริษัทต้องมีเพื่อคัดเลือกบุคลากรเข้ามาในหน่วยงาน  โดยเช็คจากการพูดคุยและแลกเปลี่ยนทัศนคติ เปิดโอกาสให้ผู้สมัครนำเสนอประสบการณ์
และผลงานที่ผ่านมา รวมถึงนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลให้ได้พิจารณา 


วันนี้เลยนำข้อมูลที่ควรรู้ก่อนไปสัมภาษณ์งานมาฝาก
๑. ความประทับใจแรกมักอยู่ที่การแต่งตัว เพราะฉะนั้นเลือกชุดให้เหมาะสมกับตัวคุณเอง      
๒.หน้าตาเป็นเพียงองค์ประกอบย่อย ความรู้และบุคลิกลักษณะที่ดีเป็นองค์ประกอบหลัก
๓.ตอบให้ตรงที่กรรมการถาม (ถ้าถามว่าใช่หรือไม่ใช่ ให้ตอบก่อนว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ หลังจากนั้นจึงค่อยอธิบายเหตุผล) และถ้าเป็นคำถามแสดงความคิดเห็น ควรตอบตามที่เราคิดจริง ๆ
๔.เวลาเข้าห้องสัมภาษณ์ไม่จำเป็นต้องตอบคำถามอย่างเดียว สามารถถามกลับได้ แต่ต้องดูจังหวะด้วยขึ้นอยู่กับกรรมการสัมภาษณ์แต่ละคนและแต่ละสถานที่ ข้อนี้เราต้องสังเกตุเอง
๕.เป็นตัวของตัวเอง สบาย ๆ อย่ากังวลมาก กล้าแสดงความคิดเห็น โดยเวลาแสดงความคิดเห็นต้องให้มีเหตุผลสนับสนุนความคิดนั้น
๖. แสดงความคิดอย่างชาญฉลาด และแสดงความกระตือรือร้นที่จะทำงานนั้น
๗.ต้องรู้จักทำการบ้าน อย่างน้อยควรรู้ว่าบริษัทที่เรากำลังจะไปสมัครเข้าทำงานทำอะไร หรือในตำแหน่งที่สมัครนั้นทำอะไร เป้าหมายของบริษัทเป็นอย่างไร เป็นต้น

ทั้ง ๗ ข้อที่กล่าวมานี้ถือเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะไปสัมภาษณ์งานใหม่ ที่สำคัญเราต้องมั่นใจในความรู้ความสามารถของตนเองด้วย ขอให้โชคดีกับการสัมภาษณ์งานทุก ๆ ท่านนะครับ

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

นิตยสารฟอร์บส์ ไทยแลนด์จัดอันดับมหาเศรษฐีของประเทศไทย ประจำปี 2558 พบว่า มหาเศรษฐีอันดับ1ของไทยคือนายธนินท์ เจียรวนนท์ จากเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือเครือซีพีมีทรัพย์สินรวม 483,000 ล้านบาท

มหาเศรษฐีอันดับที่2 คือนายเจริญ สิริวัฒนภักดี จากกลุ่มไทยเบฟเวอเรจมีมูลค่าทรัพย์สิน 435,000ล้านบาท

อันดับที่3 เป็นของตระกูลจิราธิวัฒน์ เจ้าของธุรกิจในกลุ่มเซ็นทรัลมีมูลค่าทรัพย์สิน 412,000 ล้านบาท 

อันดับที่4 นายเฉลิม อยู่วิทยา  กลุ่มกระทิงแดง

อันดับที่5 นายกฤตย์ รัตนรักษ์ กลุ่มธุรกิจสถานีโทรทัศน์สีช่อง7,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา,บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง และยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แกรนด์คาแนลแลนด์

อันดับที่6 นายวานิช ไชยวรรณ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในไทยประกันชีวิต และสุรามหาราษฎร 

อันดับที่7 นายสันติ ภิรมย์ภักดี กลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่ 

อันดับที่8 นายปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เจ้าของธุรกิจสายการบินบางกอกแอร์เวย์และเครือโรงพยาบาลชั้นนำ

อันดับที่9 นายวิชัย ศรีวัฒนประภา กลุ่มคิงพาเวอร์

อันดับที่10 พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีมีทรัพย์สินมูลค่า 57,000 ล้านบาท




คนทั่วไปเวลาได้เห็นข่าวเกี่ยวกับการจัดอันดับเศรษฐี ก็มักจะบอกว่า รวยไปก็เท่านั้นเงินทองเป็นของนอกกายหรือเงินทองไม่ใช้หลักประกันว่าชีวิตจะมีความสุข คนที่มีทัศนะคติเช่นนี้มักจะไม่พร้อมรวย จริง ๆ แล้วที่กล่าวอย่างนี้มันก็ไม่ผิดมีส่วนถูกอยู่มากทีเดียว แต่เศรษฐีเขาจะคิดอีกแบบหนึ่งคือคิดว่าเงินทองสำคัญ มีทรัพย์ดีกว่าไม่มีแน่นอน
           ลักษณะร่วมกันอย่างหนึ่งของเศรษฐีทั้งหลายคือ การกระหายความสำเร็จ  ยกตัวอย่างเช่น สตีฟ จอบส์ แม้เขาจะมีเงินมากมาย ถูกจัดอับดับให้เป็นเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกหลายสมัย แต่เขาก็ยังไม่หยุดพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาให้คนทั้งโลกได้เห็น หรือเศรษฐีเมืองไทยอย่างคุณจรัส ชูโต ผู้จัดการใหญ่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ที่มักบอกกับผู้ใต้บังคับบัญชาว่า
 "There's always a better way in doing things" แปลว่า ย่อมมีวิธีการที่ดีกว่าเสมอ ในการที่คนเราจะทำอะไรก็ตาม หมายความว่า อย่าไปนึกว่าสิ่งที่เราประสบความสำเร็จและทำมาดีแล้วนั่นคือวิธีที่ดีที่สุด ความสำเร็จอย่าอื่นกำลังรอเราอยู่ข้างหน้า ซึ่งบางทีเงินทองก็อาจจะไม่ใช้สาเหตุหลักในการทำงาน ความกระหายความสำเร็จนี้เองที่ผลักดันให้เขาเกิดความเพียรพยายามทำในสิ่งนั้นให้สำเร็จ มีใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ เมื่อทำแล้วไม่เป็นไปตามที่คาดคิด
ก็พิจารณาดูว่าเป็นเพราะอะไร แล้วปรับปรุงแก้ไขจนกระทั้งประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งไว้ นี้คือลักษณะร่วมกันของคนที่เป็นเศรษฐี

แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม หาได้มาแล้วใช้เป็นหรือเปล่าก็อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งคำว่า “เป็น” ในที่นี้ไม่ได้หมายความเพียงแค่ใช้เพื่อประโยชน์ในปัจจุบันชาตินี้เท่านั้นแต่ยังหมายถึงใช้เพื่อประโยชน์ในชาติต่อ ๆ ไปด้วย เพราะทุกคนรู้อยู่แล้วว่าลำพังเพียงแค่หนึ่งสมองสองมือไม่อาจทำให้คน ๆ หนึ่งประสบความสำเร็จได้ ถ้ามีเพียงแค่นี้ทุกคนก็คงเป็นเศรษฐีกันหมดทั้งโลกไปแล้ว คำว่า “เป็น” ตัวนี้แหละที่จะแยกระหว่างเศรษฐีกับคนธรรมดาให้แตกต่างกัน

ภาพจาก :http://www.springnews.co.th/economics/90065

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

มนุษย์ทุกคนในใบโลกนี้ต้องใช้ปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต เมื่อต้องใช้ก็ต้องหา ในยุคแรก นั้นมนุษย์หาเช้ากินค่ำ (ไม่ต้องวางแผนชีวิต) เพราะทรัพยากรมีเหลือเฟืออยากได้ต่อไหนก็ไปเอาตอนนั้น  พอมาถึงยุคปัจจุบันทั้ง ๆ ที่ทรัพยากรยังมีอยู่เหลือเฟือ แต่ถูกพวกมือยาวสาวได้สาวเอากักตุนไว้จนของบางอย่างเกิดขาดแคลนขึ้นมา ต่อมาไอ้พวกมือยาวทั้งหลายเริ่มคิดกลไกการตลาดขึ้นมา ทำให้เกิดอุปสงค์ อุปทาน สร้างกฎอะไรต่อมิอะไรวุ่นวายไปหมด สุดท้ายมนุษย์ต้องถูกกระแสสังคมครอบงำ ต้องผันตัวเองให้ไปประกอบอาชีพต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยสี่มาหล่อเลี้ยงร่างกาย
ปัญหาต่อมาก็คือมันหาแล้วไม่พอใช้ สำหรับคนที่หาได้น้อยไม่ต้องพูดกันเพราะยังไง ๆ โอกาสที่จะไม่พอใช้มันต้องมีอยู่แล้ว แต่สำหรับพวกที่หาได้เยอะแล้วไม่พอใช้นี้มันเพราะอะไร
คำโบราณว่าไว้ "ถ้าไม่รู้จักใช้ หาเท่าไหร่ก็ไม่พอ" ถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนกลุ่มที่หาได้เยอะแล้วไม่พอใช้สักที วิธีแก้สำหรับคนกลุ่มนี้ง่ายมาก คนโบราณให้หลักไว้ 2 ประการ คือ
1.กินตอนหิว อย่าไปกินตอนอยาก หมายความว่า ใช้ของที่ต้องการ อย่าใช้ของที่ความจำเป็น จริงอยู่ของบางอย่างมันจำเป็นแต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่ถึงขั้นตาย เรื่องนี้ต้องแยกให้ออก
2.ได้เท่าไหร่ไม่สำคัญ สำคัญว่าเหลือเท่าไหร่ คือต้องบริหารเงินให้เหลือนั้นเอง
วิธีที่คนโบราณให้มาสองประการนี้ อาจจะไม่เข้ากับหลักของนักเศรษฐศาสตร์หรือนักบัญชีทั้งหลายเท่าไร แต่ถ้าพิจารณาแล้วมันเป็นบทฝึกวินัยในการใช้ปัจจัยสี่ของตัวเราเองล้วน ๆ ไม่ต้องไปพึ่งใครทั้งนั้น
และที่สำคัญที่สุดสำหรับการใช้ปัจจัยสี่คือ ต้องรู้จักเปลี่ยนทรัพย์ภายนอกให้เป็นสมบัติทรัพย์ภายในที่สามารถนำติดตัวไปใช้ในชาติต่อ ๆ ไปให้ได้ด้วย

สิ่งของภายนอกที่เราเก็บไว้อาจถูกภัยธรรมชาติ ภัยสงคราม หรือแม้กระทั้งราชภัย ทำให้ทรัพย์ของเราสูญหายไปได้ แต่ถ้านำทรัพย์ออกโดยการให้ทาน ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนให้เป็นสมบัติภายใน ย่อมไม่มีใครจะเอาไปจากเราได้ทั้งนั้น