วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

On 02:41 by EForL   No comments
ในประเทศไทย มีบัญชีเงิน 3 ประเภทใหญ่ ๆ  ซึ่งแต่ละบัญชีมีลักษณะที่เหมือนกันคือ เป็นการนำฝากเงินไว้กับธนาคาร แต่ต่างกันที่วัตถุประสงค์ในการใช้บัญชีเงินฝากของแต่ละประเภท รวมไปถึง อัตราดอกเบี้ยที่ลูกค้าจะได้รับ และเงื่อนไขการฝาก-ถอนเงิน มีตารางเปรียบเทียงดังนี้

เพียงแค่เราศึกษาเรื่องนี้ก็สามารถ บริหารจัดการเงินของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วครับ

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เช็คแบ่งเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ เช็คสั่งจ่ายตามสั่ง (Order cheque), แคชเชียร์เช็ค เช็คของขวัญ และเช็คสำหรับผู้เดินทาง

1. เช็คสั่งจ่ายตามสั่ง ( order cheque)  เป็นเช็คที่ออกโดยบุคคลเจ้าของบัญชี ( เฉพาะบัญชีกระแสรายวัน) สั่งจ่ายให้กับผู้ที่มีชื่อปรากฎในเช็คแทนการใช้เงินสด  โดยสามารถระบุวันที่สั่งจ่ายได้ ซึ่งผู้รับเงินจะไปขึ้นเงินได้ต่อเมื่อถึงวันที่ระบุไว้ในเช็คเท่านั้น  เช็คดังกล่าวสามารถเปลี่ยนผู้รับเงินได้ โดยการสลักหลังและส่งมอบ หรือสามารถขีดคร่อมเส้นคู่ขนานบนหน้าเช็คได้ ซึ่งจะทำให้ผู้รับเช็คไม่สามารถขึ้นเงินสดได้ โดยต้องนำไปเข้าบัญชีธนาคารของตนเองเท่านั้น

2. แคชเชียร์เช็ค เป็นเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายและสามารถระบุผู้รับเงินได้ ผู้ที่ต้องการซื้อเช็คดังกล่าวสามารถไปซื้อได้ที่ธนาคาร เช็คประเภทนี้มักใช้ถือแทนเงินสดเพื่อความปลอดภัยในการถือเงินสดจำนวนมาก เนื่องจากมีการระบุชื่อผู้รับชัดเจน











3. เช็คของขวัญ ลักษณะคล้ายกับแคชเชียร์เช็ค แต่ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้รับและสั่งจ่ายเป็นเงินสดได้  มักใช้มอบให้กับผู้รับในโอกาสพิเศษต่างๆ แทนของขวัญ เช่นปีใหม่ งานแต่งงาน

4. เช็คสำหรับผู้เดินทาง (Traveler's Cheque)  เป็นเช็คสำหรับผู้เดินทางไกลทั้งในและต่างประเทศ ใช้แทนการถือเงินสดติดตัวเป็นจำนวนมากๆ













บัตร ATM คือบัตรที่ใช้สำหรับกดเงินสดจากบัญชีออมทรัพย์ผ่านตู้เอทีเอ็ม

บัตรเดบิต เหมือนกับบัตรเอทีเอ็ม แต่สามารถใช้รูดซื้อสินค้าแทนการจ่ายเงินสด ทั้งตามร้านค้าและทางอินเตอร์เน็ตได้ โดยใช้เงินที่อยู่ในบัญชีออมทรัพย์ที่ผูกกับบัตรนั้นๆ

บัตรเครดิต ใช้สำหรับรูดซื้อสินค้าแทนการจ่ายเงินสด โดยจำนวนเงินที่สามารถใช้จ่ายได้จะอยู่ภายใต้วงเงินที่ได้รับอนุมัตจากสถาบันการเงินที่เป็นผู้ออกบัตร โดยเมื่อครบกำหนดชำระ เจ้าของบัตรต้องไปชำระวงเงินที่ได้ใช้จ่ายผ่านบัตรไปกับทางธนาคาร หากชำระล่าช้าหรือไม่ครบจำนวนก็จะมีดอกเบี้ยเกิดขึ้น โดยมีอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันในแต่ละสถาบันการเงิน